มาทิลดา นักอ่านสุดวิเศษ = Matilda /

ดาห์ล, โรอัลด์, ค.ศ.1916-1990.

มาทิลดา นักอ่านสุดวิเศษ = Matilda / เขียนโดย โรอัลด์ ดาห์ล ; แปลโดย สาลินี คำฉันท์ - พิมพ์ครั้งที่ 2. - กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2549. - 288 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม.

สร้างเป็นภาพยนตร์ฉายทั่วโลก

ความอัจฉริยะของมาทิลดาสร้างความแตกตื่นและตื่นเต้นให้แก่ผู้ใหญ่ที่เห็นคุณค่าและมีความคิดอย่างนางเฟ้ลปส๎ บรรณารักษ์ห้องสมุด และครู เจนนิเฟอร์ ฮันนี่ เพราะแม้อายุจะไม่ถึง ๕ ขวบ มาทิลดาก็เริ่มเดิน เตาะแตะไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเอง แถมหนังสือที่อ่านก็ยังเป็นหนังสือที่ฅนตัวโตๆ บางฅนอ่านไม่เข้าใจด้วย

แต่ความช่างคิด ช่างจำ ชอบอ่านหนังสือของมาทิลดาจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเธอต้องอยู่ท่ามกลางพ่อผู้มีนิสัยฉลาดแกมโกง บูชาเงินเป็นพระเจ้า แม่ที่ชื่นชอบการเล่นบิงโกและดูทีวีมากกว่าดูแลลูกๆ และพี่ชายซึ่งพร้อมจะเชื่อฟัง ศรัทธาในเล่ห์เหลี่ยมของพ่อ

จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่มาทิลดาจะเป็นผู้รองรับอารมณ์บูดๆ ของพ่อเป็นประจำ จนคิดแก้แค้นด้วยกลอุบายแสบๆ คันๆ ผู้ใหญ่บางฅนอาจมองว่าบางส่วนของหนังสือเล่มนี้ทำให้เด็กๆ แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง แต่โรอัลด์ ดาห์ลก็แสดงให้เห็นว่า การกลั่นแกล้งพ่อของมาทิลดานั้น ทำให้พ่อของเธอมีพฤติกรรมดีขึ้นเพียงใด รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าความเฉลียวฉลาดรอบรู้ของเด็กๆ นั้น จะเป็นผลดีแก่ตัวเด็กเองก็ต่อเมื่อเด็กได้อยู่ในความดูแล ของผู้ใหญ่ที่มีเหตุผลและเห็นคุณค่าในตัวเขาเท่านั้น

เรื่องราวที่เปี่ยมด้วยแง่คิด ถูกถ่ายทอดผ่านภาษาที่เรียบง่ายสละสลวย และอารมณ์ขันที่มากมายเหลือเฟือ แม้พฤติกรรมบางอย่างของครูเขาวัว ครูใหญ่จอมโหดจะเกินจริงไปบ้าง แต่ก็เพื่อย้ำความดีกับความไม่ดีให้เด่นชัดยิ่งขึ้น นับเป็นหนึ่งในหนังสือไม่กี่เล่มที่ได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กับความสนุก

จากคอลัมน์ : ชวนน้องอ่านหนังสือ โดย พี่นักอ่าน
หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐

9741402783 97897402783

ย. / ด459ม
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]