ปิน็อกกีโอ = Le Avventture di Pinocchio /

คอลโลดี, คาร์โล, ค.ศ. 1826-1890.

ปิน็อกกีโอ = Le Avventture di Pinocchio / เขียนโดย การ์โล กอลโลดี ; รูปประกอบโดย เอนริโก มัซซานติ ; แปลจากภาษาอิตาลีโดย กมลเดช สงวนแก้ว ; บรรณาธิการ: ผกาวดี อุตตโมทย์ - พิมพ์ครั้งที่ 1. - กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2540. - 280 หน้า : ภาพประกอบ ; 20 ซม.

ถึงวันนี้ 'ปิน็อกกีโอ' หุ่นไม้จอมซนจอมโกหกจนจมูกยาวแล้วยาวอีกก็มีอายุ ๑๑๖ ปีเต็มแล้ว หลังจากแจ้งเกิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตอนเปิดเรื่องยังไม่มีปิน็อกกีโอ มีแต่ท่อนไม้ที่ร้องไห้และหัวเราะได้เหมือนเด็กๆ ทั้งยังช่างพูดและชอบแกล้งฅน จวบจนมันถูกนำไปทำเป็นหุ่น ก็ยังคงนิสัยเดิมไม่ผิดเพี้ยน แถมด้วยความซุกซนในระดับน่าตีเป็นอย่างยิ่ง

ปิน็อกกีโอนิสัยไม่ดี ชอบโกหก ทั้งที่จมูกยาวทุกครั้งที่พูดปด ก็ยังไม่ยอมเข็ด ชอบแกล้งฅนอื่น คบเพื่อนเลว ขี้เกียจ ทำทุกอย่างที่เด็กเกเรซุกซนทั่วไปทำ ข้อนี้เป็นเพราะผู้เขียน เขียนถึงเด็กตามที่เป็นจริง ไม่ใช่เด็กดีหรือเลวเกินไป แต่เป็นเด็กที่ซุกซนตามธรรมชาติ มีทั้งข้อบกพร่องและส่วนดีปะปนกันไป และในที่สุด หลังจากผ่านประสบการณ์ต่างๆ นานามามากจากการผจญภัย ปิน็อกกีโอก็เรียนรู้ที่จะกลับตัวกลับใจรู้จักที่จะพัฒนาตนเอง รู้จักคิด มีสำนึก และเป็นเด็กดี

นอกจากจะเป็นการปลูกฝังความคิดรับผิดชอบ การเป็นฅนซื่อตรงและเป็นฅนดีแก่เด็กแล้ว 'ปิน็อกกีโอ' ยังซ่อนนัยวิจารณ์เสียดสีสังคมและนักการเมืองไว้อย่างน่าสนใจและเจ็บแสบเลยทีเดียว อ่านไปเห็นภาพไป ดูคลับคล้ายคลับคลากับฅนแถวบ้านเมืองเรายังไงก็ไม่รู้

จากคอลัมน์ : มุมนักอ่าน โดย พี่ใจแจ่ม
หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ฉบับแปลภาษาไทย ได้รับรางวัล Italian Government Literary Prize เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

9747296942


วรรณกรรมสำหรับเด็ก
วรรณกรรมอิตาเลียน--การแปลเป็นภาษาไทย

ร.ส. / ค194ป
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]