กรีบูย = Histoire du veritable Gribouille /

ซองด์, ฌอร์จ, ค.ศ. 1804-1876.

กรีบูย = Histoire du veritable Gribouille / เขียนโดย จอร์ช ซองด์ ; แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย พูลสุข ตันพรหม ; บรรณาธิการ: ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา, นุชา สิงหวิริยะ - พิมพ์ครั้งที่ 2. - กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2541. - 131, [5] หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม.

แปลจาก Historie du veritabel Gribouille.

จินตนาการแบบ 'เด็กๆ' ของ จอร์ช ซองด์ นักประพันธ์สตรีชาวฝรั่งเศส ที่ถ่ายทอดเป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง 'กรีบูย' เมื่อ ๑๔๖ ปีที่แล้ว อาจจะไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่สำหรับงานเขียนที่มุ่งเน้นสะท้อนโลกส่วนตัวของวัยเด็ก แต่ข้อเด่นของ 'กรีบูย' ยังสะท้อนทัศนะต่อโลกของผู้ใหญ่ผ่านแว่นขยายของเด็กด้วย

ของขวัญที่ล้ำค่าและใฝ่หามาตลอดชีวิตของ 'กรีบูย' ตัวเอกของจอร์ช ซองด์ก็คือ ความรักจากพ่อและแม่ซึ่งเขาไม่เคยได้สัมผัสตลอดชีวิต แต่กลายเป็นแรงผลักดันให้เขาต้องเข้าไปพัวพันและเป็นพยานสำคัญของการมุ่งทำลายล้างกันและกัน ซึ่ง 'กรีบูย' กลายเป็นผู้ถูกเลือกเป็นทายาทสืบต่อความรุนแรงนั้น แน่นอนเขาปฏิเสธ

จอร์ช ซองด์ อธิบายทัศนะต่อโลกและต่อมนุษย์ผ่านจินตนาการแบบเด็กๆของ 'กรีบูย' ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เธอทำให้ 'กรีบูย' เห็น 'บูร์ดง' ผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจเป็นราชาแมลงภู่ที่มุ่งแต่ใช้กำลังอำนาจครอบครองและปกครองอาณาจักร ขณะที่บริวารของเขาก็คือ เหล่าต่อแตนที่มีสัญชาตญาณการอยู่รอดด้วยการฉ้อโกง และช่วงชิงสิ่งของฅนอื่นมาเป็นของตน

การปฏิเสธโลกของ 'บูร์ดง' ของ 'กรีบูย' ในทัศนะของจอร์ช ซองด์ เท่ากับการปฏิเสธโลก ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้เขาเข้าสู่โลกธรรมชาติของมวลดอกไม้และความสุขสงบ

ที่นี่ 'กรีบูย' ได้เรียนรู้มนต์แห่งความรัก และเรียนรู้ที่จะ 'รักอย่างหมดหัวใจ' และด้วยชีวิตความเป็นมนุษย์ของเขาแลกกับความสงบสุขอันเป็นนิรันดร์ของมนุษย์และโลก

ความฝันของจอร์ช ซองด์ จบลงอย่างมีความสุขโดยมี 'กรีบูย' ซึ่งมีภาพซ้อนของ 'วาลองทีน เฟอรี' (เด็กน้อยซึ่งจอร์ช ซองด์ เขียนคำอุทิศให้ทั้งยังระบุว่าได้แรงบันดาลใจจากเฟอรี) เป็นผู้ชี้ทางสงบแก่โลก และกับจอร์ช ซองด์เอง

จากคอลัมน์ : หนังสือ
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙

9741400462


วรรณกรรมสำหรับเด็ก
วรรณกรรมฝรั่งเศส--แปลเป็นภาษาไทย

ร.ส. / ซ116ก
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]