Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

ซาดิก = Zadig / นิพนธ์โดย วอลแตร์ ; แปลจากภาษฝรั่งเศสโดย วัลยา วิวัฒน์ศร

By: วอลแตร์, ค.ศ. 1694-1778Contributor(s): วัลยา วิวัฒน์ศร | Voltaire. ZadigMaterial type: TextTextLanguage: Thai Publication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2543. Edition: พิมพ์ครั้งที่ 2Description: 201 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซมISBN: 9741401612Other title: ZadigSubject(s): วรรณคดีฝรั่งเศส -- การแปลเป็นภาษาไทยDDC classification: นป. Summary: ซาดิก เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงของวอลแตร์ และถือเป็นผลงานสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของเขา เล่าเรื่องของ ซาดิก นักปรัชญายุคบาบิโลน ปัญหาที่ซาดิกประสบล้วนแต่อ้างอิงถึงปัญหาสังคมและการเมืองในยุคสมัยของวอลแตร์ หนังสือเรื่องนี้เสนอชีวิตมนุษย์ภายใต้อุ้งมือของ "ชะตากรรม" ที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ ผู้แปลเขียนไว้ว่า "ซาดิกคือความใฝ่ฝันของวอลแตร์ ซาดิกได้เป็นอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าม็อบดาร์แห่งบาบิโลน มีสตรีรุมล้อมรุมรักมากมาย ซาดิกใช้ความสามารถ ใช้สติปัญญา และการทำงานหนักฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซาดิกได้ตระหนักว่า การเป็นที่โปรดปรานนั้นเป็นอันตรายต่อตนเองได้ ดังที่วอลแตร์ได้ประสบมาและจะได้ประสบอีก" หนังสือเล่มนี้แสดงความสามารถทางวรรณกรรมของวอลแตร์ ดังที่ผู้แปลกล่าวว่า "วอลแตร์ยังอาศัยจินตนาการจากนิยายตะวันออก (อาหรับและจีน) และนิยายตะวันตก (กรีก โรมัน และอังกฤษ) มาผูกเข้ากับโครงเรื่องและความคิดส่วนตนในแต่ละบท นำผู้อ่านไปสู่ข้อสรุปตามที่ตั้งไว้ โดยที่ผู้อ่านไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ตัววอลแตร์เองแอบซ่อนอยู่หลังบรรทัด คอยยิ้ม คอยเยาะ เย้ยหยัน เย้าหยอก ประชดประชัน แดกดัน เสียดสีความเป็นไปทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ด้วยภาษาที่ไพเราะสละสลวย ประณีตบรรจง และงดงาม" ซาดิกรำพึงตอนหนึ่งต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า "ไฉนฅนเราต้องรับเคราะห์ เพียงด้วยเหตุที่เขาไปเดินเล่นในป่าโปร่งอันสุนัขของพระราชินีกับอัศวราชของพระราชาวิ่งผ่าน แม้กระทั้งจะยืนอยู่ที่หน้าต่างบ้านของตนเองก็เป็นภัยได้ ไฉนหนอจึงยากลำบากเหลือแสนที่จะมีความสุขในชีวิตนี้!" สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Home library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode Item holds
Fiction Fiction The Foundation of Mrigadayavan Palace
Literature น ว368ซ 2543 (Browse shelf(Opens below)) ฉ.1 Available MRIG18013013
Fiction Fiction The Foundation of Mrigadayavan Palace
Literature น ว368ซ 2543 (Browse shelf(Opens below)) ฉ.2 Available MRIG20020095
Fiction Fiction The Foundation of Mrigadayavan Palace
น ว368ซ 2543 (Browse shelf(Opens below)) ฉ.3 Available MRIG20020096
Total holds: 0

แปลจากภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Zadig.

ซาดิก เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงของวอลแตร์ และถือเป็นผลงานสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของเขา เล่าเรื่องของ ซาดิก นักปรัชญายุคบาบิโลน ปัญหาที่ซาดิกประสบล้วนแต่อ้างอิงถึงปัญหาสังคมและการเมืองในยุคสมัยของวอลแตร์ หนังสือเรื่องนี้เสนอชีวิตมนุษย์ภายใต้อุ้งมือของ "ชะตากรรม" ที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์

ผู้แปลเขียนไว้ว่า "ซาดิกคือความใฝ่ฝันของวอลแตร์ ซาดิกได้เป็นอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าม็อบดาร์แห่งบาบิโลน มีสตรีรุมล้อมรุมรักมากมาย ซาดิกใช้ความสามารถ ใช้สติปัญญา และการทำงานหนักฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซาดิกได้ตระหนักว่า การเป็นที่โปรดปรานนั้นเป็นอันตรายต่อตนเองได้ ดังที่วอลแตร์ได้ประสบมาและจะได้ประสบอีก"

หนังสือเล่มนี้แสดงความสามารถทางวรรณกรรมของวอลแตร์ ดังที่ผู้แปลกล่าวว่า "วอลแตร์ยังอาศัยจินตนาการจากนิยายตะวันออก (อาหรับและจีน) และนิยายตะวันตก (กรีก โรมัน และอังกฤษ) มาผูกเข้ากับโครงเรื่องและความคิดส่วนตนในแต่ละบท นำผู้อ่านไปสู่ข้อสรุปตามที่ตั้งไว้ โดยที่ผู้อ่านไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ตัววอลแตร์เองแอบซ่อนอยู่หลังบรรทัด คอยยิ้ม คอยเยาะ เย้ยหยัน เย้าหยอก ประชดประชัน แดกดัน เสียดสีความเป็นไปทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ด้วยภาษาที่ไพเราะสละสลวย ประณีตบรรจง และงดงาม"

ซาดิกรำพึงตอนหนึ่งต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า "ไฉนฅนเราต้องรับเคราะห์ เพียงด้วยเหตุที่เขาไปเดินเล่นในป่าโปร่งอันสุนัขของพระราชินีกับอัศวราชของพระราชาวิ่งผ่าน แม้กระทั้งจะยืนอยู่ที่หน้าต่างบ้านของตนเองก็เป็นภัยได้ ไฉนหนอจึงยากลำบากเหลือแสนที่จะมีความสุขในชีวิตนี้!"

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ LI5900275

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]