Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

ตู้พิศวง = The lion, the witch and the wardrobe / เขียนโดย ซี. เอส. ลูอิส ; แปลโดย สุมนา บุญยะรัตเวช

By: ลูอิส, ซี. เอสContributor(s): สุมนา บุญยะรัตเวช | Lewis, C. S. (Clive Staples), 1898-1963. The chronicles of Narnia : book 2, The lion, the witch and the wardrobeMaterial type: TextTextLanguage: Thai Original language: English Series: นาร์เนียPublication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2548. Edition: พิมพ์ครั้งที่ 3Description: 224 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซมISBN: 9741402805; 789741402809Subject(s): วรรณกรรมอังกฤษ -- แปลเป็นภาษาไทย | วรรณกรรมสำหรับเด็กDDC classification: ย. Summary: ในบรรดาวรรณกรรมเยาวชนเหนือจริง ที่ในปัจจุบันสร้างความอภิรมย์ให้นักอ่านทั้งเด็กผู้ใหญ่หลากหลายเรื่องอยู่ทั่วโลกนี้ มีอยู่เรื่องหนึ่งหรือชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจอย่างสำคัญให้กับนักอ่านและนักเขียนรุ่นต่อๆ มา โดยไม่เคยถูกลืมเลือน และเพิ่งมีประกาศว่าถูกนำมาสร้างภาพยนตร์เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง เรื่องนั้นก็คือ ตู้พิศวง ซึ่งเป็นงานที่เขียนติดต่อกันมาถึง ๗ เล่มโดย ซี.เอส. ลิวอิส ชาวไอริช โดยเล่มสุดท้าย อวสานการยุทธ์ ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับรางวัลเหรียญคาร์เนกี้ ที่สำคัญและทรงเกียรติสำหรับวรรณกรรมเยาวชน ลิวอิสเกิดที่เบลฟาสท์ ไอร์แลนด์ ในวัยเด็กชอบฟังเทพนิยาย เทพปกรณัม หรือพวกนิยายปรัมปราจากพี่เลี้ยง เขาเคยเล่าว่า ภาพคนครึ่งแพะ คือมีขาเป็นแพะ แบกห่อของ ถือร่ม เกิดกับเขาตอนอายุ ๑๖ ภาพนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาหลังจากที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พร้อมแม่มดแสนร้าย ราชินีบนเลื่อนน้ำแข็ง และสิงโตที่งามสง่า ส่วนเด็กๆ ทั้ง ๔ ที่ร่วมกันผจญภัยในโลกชื่อ นาร์เนีย นั้นได้มาจากเด็ก ๔ คนที่ลี้ภัยมาอยู่ด้วยตอนสงครามโลกครั้งหลัง เมื่อ ตู้พิศวง เริ่มขึ้นในปี ๒๔๙๓ ซึ่งทีแรกลิวอิสคิดจะเขียนภาพประกอบเอง แต่กลับให้ศิลปินอายุน้อย พอลีน เบย์เนส วัยเพียง ๒๐ ปี สร้างจินตนาการขึ้นเป็นภาพที่ผู้เขียนเองก็พออกพอใจอย่างยิ่ง ตามด้วย เจ้าชายแคสเปี้ยน และปี ๒๔๙๓ เรื่องผจญภัยโพ้นทะเล ลิวอิสคิดว่าจบแล้ว แต่ปีถัดจากนั้นกลับเกิดเก้าอี้เงิน และต่อด้วย อาชา กับเด็กชาย ในปีถัดไปอีก ด้วยวิธีเขียนที่ทำให้ถูกเรียกว่าเป็นผู้มาก่อนกาลเวลา เนื่องจากการเล่าเรื่องที่ตัดสลับเวลาก่อนหน้าย้อนหลังไปมา ที่ทำให้นักอ่านวัยน้อยๆ และผู้ปกครองเกิดปัญหาในการลำดับเรื่องราว ทำให้กลายเป็นหนังสือชุดพิสดาร ที่ผู้อ่านขอให้เรียงลำดับ เรื่องใหม่ในการตีพิมพ์ หนังสือเล่มแรกจึงกลับไปอยู่ลำดับสอง และเล่มที่หกกลับมาอยู่เป็นลำดับแรก มีการพูดกันเหมือนกันว่าลิวอิสซ่อนนัยทางการเมืองไว้ในงานชุดนี้หรือไม่ โดยประเด็นนี้แทบมิได้พูดถึงกันเลยในอังกฤษ แต่ความจริงของเรื่องราวการสู้รบแย่งชิงอาณาจักรระหว่างแม่มดร้ายกับกองทัพอัสลาน ซึ่งมีผู้พลีชีพเป็นสิงสาบรรดาสัตว์กับมนุษย์ซึ่งเห็นได้ง่ายว่าเป็นภาพใด และแม่มดขาวในเล่มแรกหมายถึงผู้ใด นอกจากนี้หากถอดรหัสคำว่านาร์เนียก็จะได้ชื่อสำคัญที่มีความหมายยิ่งต่อชาวไอริช ผู้ต่อสู้อย่างกล้าหาญในประวัติศาสตร์ เพื่อต้อนรับการนำวรรณกรรมเยาวชนชิ้นเยี่ยมนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ สำนักพิมพ์ผีเสื้อที่เสนองานเยาวชนมาสม่ำเสมอ จึงพิมพ์ฉบับปกแข็งด้วยกระดาษถนอมสายตาออกมา ด้วยการแปลเป็นไทยโดยสุมนา บุณยะรัตเวช นักเรียนประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ผู้เคยรับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสุดท้ายที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม โดยใช้ภาพประกอบดั้งเดิมของเบย์เนสตามต้นฉบับ ตกแต่งจินตนาการ วรรณกรรมเยาวชนซึ่งผู้ใหญ่อ่านได้อ่านดีชุดนี้ เป็นอีกงานหลักที่พลาดไม่ได้สำหรับนักอ่านทุกรุ่น ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความเหนือจริงของเรื่องและภาพยนตร์จำนวนมากในวันนี้ มีรากฐานที่ริเริ่มมาอย่างไร ลำแข หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน (งานเป็นเงา) ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๒๗
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Home library Collection Call number Status Date due Barcode Item holds
Juvenile Book Juvenile Book The Foundation of Mrigadayavan Palace
Literature ย. ล739น 2548 (Browse shelf(Opens below)) Available MRIG18013018
Total holds: 0

ในบรรดาวรรณกรรมเยาวชนเหนือจริง ที่ในปัจจุบันสร้างความอภิรมย์ให้นักอ่านทั้งเด็กผู้ใหญ่หลากหลายเรื่องอยู่ทั่วโลกนี้ มีอยู่เรื่องหนึ่งหรือชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจอย่างสำคัญให้กับนักอ่านและนักเขียนรุ่นต่อๆ มา โดยไม่เคยถูกลืมเลือน และเพิ่งมีประกาศว่าถูกนำมาสร้างภาพยนตร์เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง

เรื่องนั้นก็คือ ตู้พิศวง ซึ่งเป็นงานที่เขียนติดต่อกันมาถึง ๗ เล่มโดย ซี.เอส. ลิวอิส ชาวไอริช โดยเล่มสุดท้าย อวสานการยุทธ์ ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับรางวัลเหรียญคาร์เนกี้ ที่สำคัญและทรงเกียรติสำหรับวรรณกรรมเยาวชน

ลิวอิสเกิดที่เบลฟาสท์ ไอร์แลนด์ ในวัยเด็กชอบฟังเทพนิยาย เทพปกรณัม หรือพวกนิยายปรัมปราจากพี่เลี้ยง เขาเคยเล่าว่า ภาพคนครึ่งแพะ คือมีขาเป็นแพะ แบกห่อของ ถือร่ม เกิดกับเขาตอนอายุ ๑๖ ภาพนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาหลังจากที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พร้อมแม่มดแสนร้าย ราชินีบนเลื่อนน้ำแข็ง และสิงโตที่งามสง่า

ส่วนเด็กๆ ทั้ง ๔ ที่ร่วมกันผจญภัยในโลกชื่อ นาร์เนีย นั้นได้มาจากเด็ก ๔ คนที่ลี้ภัยมาอยู่ด้วยตอนสงครามโลกครั้งหลัง
เมื่อ ตู้พิศวง เริ่มขึ้นในปี ๒๔๙๓ ซึ่งทีแรกลิวอิสคิดจะเขียนภาพประกอบเอง แต่กลับให้ศิลปินอายุน้อย พอลีน เบย์เนส วัยเพียง ๒๐ ปี สร้างจินตนาการขึ้นเป็นภาพที่ผู้เขียนเองก็พออกพอใจอย่างยิ่ง ตามด้วย เจ้าชายแคสเปี้ยน และปี ๒๔๙๓ เรื่องผจญภัยโพ้นทะเล ลิวอิสคิดว่าจบแล้ว แต่ปีถัดจากนั้นกลับเกิดเก้าอี้เงิน และต่อด้วย อาชา กับเด็กชาย ในปีถัดไปอีก

ด้วยวิธีเขียนที่ทำให้ถูกเรียกว่าเป็นผู้มาก่อนกาลเวลา เนื่องจากการเล่าเรื่องที่ตัดสลับเวลาก่อนหน้าย้อนหลังไปมา ที่ทำให้นักอ่านวัยน้อยๆ และผู้ปกครองเกิดปัญหาในการลำดับเรื่องราว ทำให้กลายเป็นหนังสือชุดพิสดาร ที่ผู้อ่านขอให้เรียงลำดับ เรื่องใหม่ในการตีพิมพ์ หนังสือเล่มแรกจึงกลับไปอยู่ลำดับสอง และเล่มที่หกกลับมาอยู่เป็นลำดับแรก

มีการพูดกันเหมือนกันว่าลิวอิสซ่อนนัยทางการเมืองไว้ในงานชุดนี้หรือไม่ โดยประเด็นนี้แทบมิได้พูดถึงกันเลยในอังกฤษ แต่ความจริงของเรื่องราวการสู้รบแย่งชิงอาณาจักรระหว่างแม่มดร้ายกับกองทัพอัสลาน ซึ่งมีผู้พลีชีพเป็นสิงสาบรรดาสัตว์กับมนุษย์ซึ่งเห็นได้ง่ายว่าเป็นภาพใด และแม่มดขาวในเล่มแรกหมายถึงผู้ใด

นอกจากนี้หากถอดรหัสคำว่านาร์เนียก็จะได้ชื่อสำคัญที่มีความหมายยิ่งต่อชาวไอริช ผู้ต่อสู้อย่างกล้าหาญในประวัติศาสตร์ เพื่อต้อนรับการนำวรรณกรรมเยาวชนชิ้นเยี่ยมนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ สำนักพิมพ์ผีเสื้อที่เสนองานเยาวชนมาสม่ำเสมอ จึงพิมพ์ฉบับปกแข็งด้วยกระดาษถนอมสายตาออกมา ด้วยการแปลเป็นไทยโดยสุมนา บุณยะรัตเวช นักเรียนประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ผู้เคยรับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสุดท้ายที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม โดยใช้ภาพประกอบดั้งเดิมของเบย์เนสตามต้นฉบับ ตกแต่งจินตนาการ

วรรณกรรมเยาวชนซึ่งผู้ใหญ่อ่านได้อ่านดีชุดนี้ เป็นอีกงานหลักที่พลาดไม่ได้สำหรับนักอ่านทุกรุ่น ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความเหนือจริงของเรื่องและภาพยนตร์จำนวนมากในวันนี้ มีรากฐานที่ริเริ่มมาอย่างไร

ลำแข หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน (งานเป็นเงา)
ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๒๗

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]