TY - BOOK AU - บัลซัค,ออนอเร่ เดอ AU - วัลยา วิวัฒน์ศร AU - Balzac,Honore de ED - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. TI - หญิงรักร้าง = La femme abandonnee SN - 9789741401031 U1 - นป. PY - 2544/// CY - กรุงเทพฯ PB - ผีเสื้อ N1 - พิมพ์เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 200 ปี ออนอเร่ เดอ บัลซัค (1799-1850); แปลจาก: La femme abandonnee N2 - 'หญิงรักร้าง' เป็นเรื่องของมาดาม เดอ โบเซอ็องต์ ราชนิกุลฅนสุดท้ายแห่งราชสกุลบูร๎กอญ ในเรื่อง 'พ่อกอริโยต์' เธอถูกฅนที่เธอรักทอดทิ้ง แต่ด้วยความหยิ่งทะนง เธอจัดงานเต้นรำอำลาสังคมชั้นสูงของปารีส วันเดียวกับที่คู่รักของเธอแต่งงาน แล้วเดินทางมาพำนักตามลำพังในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในแคว้นนอร๎ม็องดี อันเป็นฉากของเรื่องนี้ แต่หญิงงามเปี่ยมสติปัญญาอย่างมาดาม เดอ โบเซอ็องต์ จะอยู่เป็นหญิงรักร้างตลอดไปได้อย่างไร เมื่อกาสตง เดอ เนยล์ บารอนหนุ่มจากปารีสจำเป็นต้องมาพักในเมืองเดัยวกัน บัลซัควิเคราะห์ความรักระหว่างหญิงกับชายอย่างลึกซึ้งถึงแก่นธรรมชาติมนุษย์ และหักมุมจบอย่างไม่มีผู้ใดคาดฝัน บัลซัคเขียนเรื่องนี้ใน ค.ศ. ๑๘๓๒ ก่อน 'พ่อกอริโยต์' สามปี ตัวละครของเขาโลดแล่นอยู่ใน 'นาฏกรรมชีวิต' อันเป็นชื่อรวมงานประพันธ์มากกว่า ๑๐๐ เรื่องของเขา ซึ่งผู้อ่านจะได้พบตัวละครเดิมในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ดำเนินชีวิตต่อเนื่องไป ผู้หญิงทุกฅนที่ได้อ่านเรื่องนี้ คงจะได้รู้ถึงคุณค่าและคุณสมบัติอันประเสริฐของความเป็นหญิง ได้ตระหนักว่า หญิงมีพลังซ่อนเร้นที่จะสร้างสรรค์ชีวิตคู่และโลกให้งดงามและเปี่ยมสุขได้มากกว่าที่เป็นอยู่ สำหรับ 'ซาร๎ราซีน' บัลซัคเขียนใน ค.ศ. ๑๘๓๐ ขณะอายุ ๓๑ ปี ใช้กลวิธีการเขียนที่น่าสนใจเช่นเดียวกันคือ เป็นเรื่องซ้อนเรื่อง เรื่องหลัก (เรื่องของซาร๎ราซีน) ที่นำมาเล่ามีความยาวเท่ากับเรื่องรอง อันประกอบด้วยการนำเรื่อง การแทรกกลางเรื่องหลัก และการจบเรื่อง นอกจากนี้เรื่องหลักเกิดขึ้นก่อนเรื่องรองถึง ๗๒ ปี แต่ตัวละครต้นเหตุเรื่องหลักยังมีชีวิตอยู่ในเรื่องรอง อันเป็นเรื่องปัจจุบันในปีที่บัลซัคแต่ง บัลซัคบรรจงร้อยเรียงตัวอักษรขึ้นเป็นภาพ ตั้งแต่ภาพฉากของเรื่องซึ่งรองรับเค้าโครงเรื่องและบรรยากาศของเรื่อง ภาพแสดงบุคลิกลักษณะตัวละคร ภาพแสดงจินตนาการของตัวละคร และภาพแสดงเหตุการณ์ในแต่ละฉาก ผู้แปลพยายามถ่ายทอดภาพเหล่านี้ให้ใกล้เคียงภาพในต้นฉบับมากที่สุด ในช่วงการเล่าเรื่องหลัก เหตุการณ์เกิดในอิตาลี บัลซัคเขียนคำในภาษาอิตาลีด้วย ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสจึงมีภาษาอิตาลีแทรกอยู่ เพื่อคงลักษณะสองภาษาในฉบับแปล ผู้แปลจึงเขียนคำภาษาอิตาลีตามเสียงอ่าน แล้วแปลความหมายควบคู่ไป คำถ่ายเสียงภาษาอิตาลีพิมพ์ตัวเอนเหมือนต้นฉบับภาษาเดิม วัลยา วิวัฒน์ศร ๒๙ เมษายน ๒๕๔๔ ER -