TY - BOOK AU - ลูอิส,ซีเอส AU - สุมนา บุญยะรัตเวช AU - Lewis,C.S. TI - ตู้พิศวง = The lion, the witch and the wardrobe T2 - นาร์เนีย SN - 9741402805 U1 - ย. PY - 2548/// CY - กรุงเทพฯ PB - ผีเสื้อ KW - วรรณกรรมอังกฤษ KW - แปลเป็นภาษาไทย KW - วรรณกรรมสำหรับเด็ก N2 - ในบรรดาวรรณกรรมเยาวชนเหนือจริง ที่ในปัจจุบันสร้างความอภิรมย์ให้นักอ่านทั้งเด็กผู้ใหญ่หลากหลายเรื่องอยู่ทั่วโลกนี้ มีอยู่เรื่องหนึ่งหรือชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจอย่างสำคัญให้กับนักอ่านและนักเขียนรุ่นต่อๆ มา โดยไม่เคยถูกลืมเลือน และเพิ่งมีประกาศว่าถูกนำมาสร้างภาพยนตร์เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง เรื่องนั้นก็คือ ตู้พิศวง ซึ่งเป็นงานที่เขียนติดต่อกันมาถึง ๗ เล่มโดย ซี.เอส. ลิวอิส ชาวไอริช โดยเล่มสุดท้าย อวสานการยุทธ์ ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับรางวัลเหรียญคาร์เนกี้ ที่สำคัญและทรงเกียรติสำหรับวรรณกรรมเยาวชน ลิวอิสเกิดที่เบลฟาสท์ ไอร์แลนด์ ในวัยเด็กชอบฟังเทพนิยาย เทพปกรณัม หรือพวกนิยายปรัมปราจากพี่เลี้ยง เขาเคยเล่าว่า ภาพคนครึ่งแพะ คือมีขาเป็นแพะ แบกห่อของ ถือร่ม เกิดกับเขาตอนอายุ ๑๖ ภาพนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาหลังจากที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พร้อมแม่มดแสนร้าย ราชินีบนเลื่อนน้ำแข็ง และสิงโตที่งามสง่า ส่วนเด็กๆ ทั้ง ๔ ที่ร่วมกันผจญภัยในโลกชื่อ นาร์เนีย นั้นได้มาจากเด็ก ๔ คนที่ลี้ภัยมาอยู่ด้วยตอนสงครามโลกครั้งหลัง เมื่อ ตู้พิศวง เริ่มขึ้นในปี ๒๔๙๓ ซึ่งทีแรกลิวอิสคิดจะเขียนภาพประกอบเอง แต่กลับให้ศิลปินอายุน้อย พอลีน เบย์เนส วัยเพียง ๒๐ ปี สร้างจินตนาการขึ้นเป็นภาพที่ผู้เขียนเองก็พออกพอใจอย่างยิ่ง ตามด้วย เจ้าชายแคสเปี้ยน และปี ๒๔๙๓ เรื่องผจญภัยโพ้นทะเล ลิวอิสคิดว่าจบแล้ว แต่ปีถัดจากนั้นกลับเกิดเก้าอี้เงิน และต่อด้วย อาชา กับเด็กชาย ในปีถัดไปอีก ด้วยวิธีเขียนที่ทำให้ถูกเรียกว่าเป็นผู้มาก่อนกาลเวลา เนื่องจากการเล่าเรื่องที่ตัดสลับเวลาก่อนหน้าย้อนหลังไปมา ที่ทำให้นักอ่านวัยน้อยๆ และผู้ปกครองเกิดปัญหาในการลำดับเรื่องราว ทำให้กลายเป็นหนังสือชุดพิสดาร ที่ผู้อ่านขอให้เรียงลำดับ เรื่องใหม่ในการตีพิมพ์ หนังสือเล่มแรกจึงกลับไปอยู่ลำดับสอง และเล่มที่หกกลับมาอยู่เป็นลำดับแรก มีการพูดกันเหมือนกันว่าลิวอิสซ่อนนัยทางการเมืองไว้ในงานชุดนี้หรือไม่ โดยประเด็นนี้แทบมิได้พูดถึงกันเลยในอังกฤษ แต่ความจริงของเรื่องราวการสู้รบแย่งชิงอาณาจักรระหว่างแม่มดร้ายกับกองทัพอัสลาน ซึ่งมีผู้พลีชีพเป็นสิงสาบรรดาสัตว์กับมนุษย์ซึ่งเห็นได้ง่ายว่าเป็นภาพใด และแม่มดขาวในเล่มแรกหมายถึงผู้ใด นอกจากนี้หากถอดรหัสคำว่านาร์เนียก็จะได้ชื่อสำคัญที่มีความหมายยิ่งต่อชาวไอริช ผู้ต่อสู้อย่างกล้าหาญในประวัติศาสตร์ เพื่อต้อนรับการนำวรรณกรรมเยาวชนชิ้นเยี่ยมนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ สำนักพิมพ์ผีเสื้อที่เสนองานเยาวชนมาสม่ำเสมอ จึงพิมพ์ฉบับปกแข็งด้วยกระดาษถนอมสายตาออกมา ด้วยการแปลเป็นไทยโดยสุมนา บุณยะรัตเวช นักเรียนประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ผู้เคยรับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสุดท้ายที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม โดยใช้ภาพประกอบดั้งเดิมของเบย์เนสตามต้นฉบับ ตกแต่งจินตนาการ วรรณกรรมเยาวชนซึ่งผู้ใหญ่อ่านได้อ่านดีชุดนี้ เป็นอีกงานหลักที่พลาดไม่ได้สำหรับนักอ่านทุกรุ่น ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความเหนือจริงของเรื่องและภาพยนตร์จำนวนมากในวันนี้ มีรากฐานที่ริเริ่มมาอย่างไร ลำแข หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน (งานเป็นเงา) ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๒๗ ER -