Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

อาทิตย์อุทัยดั่งสายฟ้า = And the dawn came up like thunder / เขียนโดย ลีโอ รอว์ลิ่งส์ ; แปลโดย ปาริฉัตร เสมอแข ; บรรณาธิการต้นฉบับแปล, กุลวี พิโรจน์รัตน์, สุรปรีย์ ปิยสาระ, มกุฎ อรดี

By: รอว์ลิ่งส์, ลีโอ, ค.ศ.1918-Contributor(s): ปาริฉัตร เสมอแข | กุลวี พิโรจน์รัตน์ | สุรปรีย์ ปิยสาระ | มกุฏ อรฤดีMaterial type: TextTextLanguage: Thai Original language: English Publication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้ออังกฤษ, 2551. Edition: พิมพ์ครั้งที่ 1Description: 408 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 16 ซมISBN: 9789741403455Contained works: Rawlings, Leo, 1918-. And the dawn came up like thunderSubject(s): สงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- บันทึกส่วนตัว | สงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- ค่ายกักกัน | สงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- การรบ -- คาบสมุทรมลายูDDC classification: 940.547259 Summary: หนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดประโยคที่ว่า "การมีโอกาสอ่านหนังสือดี นับเป็นโชคของมนุษย์" สงครามโลกครั้งที่สอง ณ บริเวณซึ่งอาจเรียกได้ว่า ‘สมรภูมิ’ จังหวัดกาญจนบุรี ของประเทศไทย ที่ซึ่งทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล้มตายไปจำนวนมากอันเนื่องมาแต่การสร้างทางรถไฟสายสยาม-พม่า ซึ่งต้องผ่านป่าเขาและหุบเหว ตามคำบงการของกองทัพญี่ปุ่น เหตุการณ์ในประเทศไทยครั้งนั้น ได้เกิดวีรบุรุษขึ้นมาก และคนหนึ่งคือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ผู้หาญกล้าวาดรูปใส่กระดาษเท่าที่มีเท่าที่พอหาได้ ด้วยสีตามธรรมชาติจำนวนนับร้อยภาพ แอบซ่อนไว้แม้ยามระหกระเหิน กระทั่งสิ้นสุดสงคราม เมื่อลีโอ รอว์ลิ่งส๎ พิมพ์หนังสือประกอบภาพเล่มสมบูรณ์ เขาได้ส่งหนังสือเล่มหนึ่งถึงนายบุญผ่อง ศิริเวชภัณฑ์ ผู้มีส่วนช่วยเหลือทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยนั้น และหนังสือเล่มนั้นเองมาถึงมือบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ(หรือสำนักพิมพ์กะรัตในขณะนั้น) ไล่ๆ กับข่าวจากญี่ปุ่นว่า ทาเกชิ นิเกเสะ นักแปลญี่ปุ่นได้แปลเรื่องนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น พิมพ์จำหน่ายในญี่ปุ่น และในวันแนะนำหนังสือเป็นครั้งแรกก็ได้เชิญผู้เขียน คือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ไปร่วมเปิดงานพร้อมมอบลายเซ็นแก่นักอ่านญี่ปุ่นด้วย ก่อนหน้านั้น ใน พ.ศ.๒๕๒๖ บรรณาธิการอำนวยการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ(กะรัต) ได้รับคำบอกเล่าจากเพื่อนชาวอังกฤษ และทหารผ่านศึกชาวอังกฤษที่ได้พาเที่ยวในเมืองไทยว่า ทหารผ่านศึกชาวอังกฤษฅนหนึ่งเขียนรูปและเขียนเรื่องเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยไว้มาก ข่าวเรื่องหนังสือ And The Dawn Came Up Like Thunder จึงมาถึงสำนักพิมพ์ผีเสื้อหลายกระแส พ.ศ.๒๕๒๘ การติดต่อทางจดหมายระหว่างบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อและผู้เขียนก็ดำเนินไปอย่างฉันมิตร เป็นเวลานานถึงเกือบ ๒ ปี จึงได้ข้อสรุปว่า ผู้เขียนอนุญาตให้แปลและพิมพ์หนังสือเรื่องนี้เป็นภาษาไทยได้ แต่เหตุอุปสรรคด้านต่างๆสลับสับเปลี่ยนเรื่อยมา จนถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ทราบข่าวน่าเสียใจว่า ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ เสียชีวิตแล้ว บัดนี้ เป็นเวลาได้ ๒๓ ปี นับแต่ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ตอบจดหมายฉบับแรกถึงบรรณาธิการอำนวยการสำนักพิมพ์ผีเสื้อซึ่งเป็นผู้แปลเรื่องนี้เองตามที่ได้สัญญากับผู้เขียน คณะบรรณาธิการได้จัดทำหนังสือแปลเรื่องนี้อย่างประณีตและดีที่สุด ทั้งเนื้อหา รูปแบบ และรายละเอียดต่างๆ สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้เลือกสถานที่จัดพิธีคารวะดวงวิญญาณผู้เขียน และบรรดาเชลยศึกสงครามทั้งหลาย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง พร้อมกับแนะนำหนังสือเรื่องนี้ ณ บริเวณที่เรียกว่า ‘ช่องเขาขาด’ (อันเป็นสถานที่ซึ่งเชลยศึกต้องทนทุกข์ทรมาณที่สุด และล้มตายไปจำนวนมาก) ในวันอังคารที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ อันตรงกับวันที่ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ตอบจดหมายฉบับแรกถึงบรรณาธิการ ในจดหมายของลีโอ รอว์ลิ่งส๎ เขาแสดงความประสงค์ และความปรารถนาว่าจะเดินทางมาเมืองไทย เพื่อแนะนำหนังสือและมอบลายเซ็นแก่ผู้อ่าน เช่นเดียวกับที่ได้รับเชิญไปกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แน่ละ เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ การได้กลับมาเยือนถิ่นซึ่งเกือบจะเอาชีวิตมาทิ้งไว้ ได้กลับมาระลึกถึงเรื่องราวมากหลาย เช่นเดียวกับเชลยศึกฅนอื่นๆ และเช่นเดียวกับเชลยศึกชาวออสเตรเลีย ที่ลงทุนลงแรงทั้งกายและใจ ย้อนกลับมาค้นหาสถานที่ บุกเบิกป่าดงอันรกร้าง และเสนอให้รัฐบาลออสเตรเลียเจรจากับรัฐบาลไทย ก่อตั้งอนุสรณ์สถานขึ้นที่ ‘ช่องเขาขาด’ จังหวัดกาญจนบุรี สถานที่ซึ่งเชื่อว่าดวงวิญญาณของเชลยศึกพำนักอยู่นับหมื่น ทุกฅนต่างก็เชื่อว่า ดวงวิญญาณของลีโอ รอว์ลิ่งส๎ แม้ได้สิ้นชีวิตที่ประเทศอังกฤษ แต่ก็อยู่ ณ ที่นั้น ในวันประกอบพิธีคารวะ และแนะนำหนังสือตามความประสงค์ของเขา ร่วมกับดวงวิญญาณที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเมื่อครั้งกระโน้นด้วย ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ได้มอบลายเซ็นสวยงาม (ซึ่งปรากฏในหน้าแรกของหนังสือทุกเล่ม) มาก่อนแล้ว นานถึง ๒๓ ปี ผู้อ่านจึงจะได้เห็นลายเซ็นของนักเขียนและศิลปินรวมทั้งลายมือในหนังสือทุกเล่ม เมื่อครั้งที่หนังสือเรื่องนี้พิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ จอมพลเรือ เอิร์ลเมานท๎แบทเท่น แห่งพม่า (หรือลอร์ดหลุยส๎ เมานท๎แบทเท่น) ได้เขียนคำปรารภเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หนังสือเรื่องนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น รูปถ่ายหรือภาพยนตร์ที่แสดงถึงชีวิตอันทุกขเวทนาของเชลยศึกผู้เคราะห์ร้าย ยามตกอยู่ในเงื้อมมือทหารญี่ปุ่นในสงคราม นับว่ายังดีที่เชลยศึกฅนหนึ่ง คือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ มีความกล้าหาญและมุ่งมั่น อดทน ทั้งสามารถ ได้ถ่ายทอดให้เห็นชีวิตอันน่าตระหนกของบรรดาเชลยศึกของเรา เขาเขียนเล่าเรื่องราวของเขาไว้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องที่ทุกฅน ผู้ซึ่งชื่นชมความทรหดอันมหัศจรรย์ของบรรดาฅนของเรา ขณะตกเป็นเชลยในเงื้อมมือทหารญี่ปุ่น จะต้องสะเทือนใจ” ถ้อยความตรงไปตรงมาของเชลยศึกสงคราม และภาพวาดในภาวะคับขัน เสี่ยงตาย สวยงาม มีชีวิต มีวิญญาณ มีความเจ็บปวด ขมขื่น ความตาย ฯลฯ คือสิ่งที่ไม่อาจหาได้จากหนังสือเล่มใด ไม่ว่านับร้อยๆปีที่ผ่านมา และอีกร้อยๆปีข้างหน้า ที่สำคัญก็คือ เกือบทั้งหมด และส่วนสำคัญของหนังสือ เกิดขึ้นในประเทศสยามหรือประเทศไทย นี่คือหนังสือเล่มหนึ่ง ที่มนุษย์ทุกฅนควรอ่าน ควรเรียนรู้ โดยเฉพาะฅนไทยยุคนี้ และยุคหน้า
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Home library Collection Call number Status Date due Barcode Item holds
General Book General Book The Foundation of Mrigadayavan Palace
History and Geography 940.547259 ร194อ (Browse shelf(Opens below)) Available MRIG18013040
Total holds: 0

หนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดประโยคที่ว่า

"การมีโอกาสอ่านหนังสือดี นับเป็นโชคของมนุษย์"

สงครามโลกครั้งที่สอง ณ บริเวณซึ่งอาจเรียกได้ว่า ‘สมรภูมิ’ จังหวัดกาญจนบุรี ของประเทศไทย ที่ซึ่งทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล้มตายไปจำนวนมากอันเนื่องมาแต่การสร้างทางรถไฟสายสยาม-พม่า ซึ่งต้องผ่านป่าเขาและหุบเหว ตามคำบงการของกองทัพญี่ปุ่น

เหตุการณ์ในประเทศไทยครั้งนั้น ได้เกิดวีรบุรุษขึ้นมาก และคนหนึ่งคือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ผู้หาญกล้าวาดรูปใส่กระดาษเท่าที่มีเท่าที่พอหาได้ ด้วยสีตามธรรมชาติจำนวนนับร้อยภาพ แอบซ่อนไว้แม้ยามระหกระเหิน กระทั่งสิ้นสุดสงคราม

เมื่อลีโอ รอว์ลิ่งส๎ พิมพ์หนังสือประกอบภาพเล่มสมบูรณ์ เขาได้ส่งหนังสือเล่มหนึ่งถึงนายบุญผ่อง ศิริเวชภัณฑ์ ผู้มีส่วนช่วยเหลือทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยนั้น และหนังสือเล่มนั้นเองมาถึงมือบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ(หรือสำนักพิมพ์กะรัตในขณะนั้น)

ไล่ๆ กับข่าวจากญี่ปุ่นว่า ทาเกชิ นิเกเสะ นักแปลญี่ปุ่นได้แปลเรื่องนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น พิมพ์จำหน่ายในญี่ปุ่น และในวันแนะนำหนังสือเป็นครั้งแรกก็ได้เชิญผู้เขียน คือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ไปร่วมเปิดงานพร้อมมอบลายเซ็นแก่นักอ่านญี่ปุ่นด้วย

ก่อนหน้านั้น ใน พ.ศ.๒๕๒๖ บรรณาธิการอำนวยการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ(กะรัต) ได้รับคำบอกเล่าจากเพื่อนชาวอังกฤษ และทหารผ่านศึกชาวอังกฤษที่ได้พาเที่ยวในเมืองไทยว่า ทหารผ่านศึกชาวอังกฤษฅนหนึ่งเขียนรูปและเขียนเรื่องเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยไว้มาก

ข่าวเรื่องหนังสือ And The Dawn Came Up Like Thunder จึงมาถึงสำนักพิมพ์ผีเสื้อหลายกระแส

พ.ศ.๒๕๒๘ การติดต่อทางจดหมายระหว่างบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อและผู้เขียนก็ดำเนินไปอย่างฉันมิตร เป็นเวลานานถึงเกือบ ๒ ปี จึงได้ข้อสรุปว่า ผู้เขียนอนุญาตให้แปลและพิมพ์หนังสือเรื่องนี้เป็นภาษาไทยได้ แต่เหตุอุปสรรคด้านต่างๆสลับสับเปลี่ยนเรื่อยมา จนถึง พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ทราบข่าวน่าเสียใจว่า ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ เสียชีวิตแล้ว

บัดนี้ เป็นเวลาได้ ๒๓ ปี นับแต่ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ตอบจดหมายฉบับแรกถึงบรรณาธิการอำนวยการสำนักพิมพ์ผีเสื้อซึ่งเป็นผู้แปลเรื่องนี้เองตามที่ได้สัญญากับผู้เขียน คณะบรรณาธิการได้จัดทำหนังสือแปลเรื่องนี้อย่างประณีตและดีที่สุด ทั้งเนื้อหา รูปแบบ และรายละเอียดต่างๆ

สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้เลือกสถานที่จัดพิธีคารวะดวงวิญญาณผู้เขียน และบรรดาเชลยศึกสงครามทั้งหลาย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง พร้อมกับแนะนำหนังสือเรื่องนี้ ณ บริเวณที่เรียกว่า ‘ช่องเขาขาด’ (อันเป็นสถานที่ซึ่งเชลยศึกต้องทนทุกข์ทรมาณที่สุด และล้มตายไปจำนวนมาก) ในวันอังคารที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ อันตรงกับวันที่ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ตอบจดหมายฉบับแรกถึงบรรณาธิการ

ในจดหมายของลีโอ รอว์ลิ่งส๎ เขาแสดงความประสงค์ และความปรารถนาว่าจะเดินทางมาเมืองไทย เพื่อแนะนำหนังสือและมอบลายเซ็นแก่ผู้อ่าน เช่นเดียวกับที่ได้รับเชิญไปกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

แน่ละ เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ การได้กลับมาเยือนถิ่นซึ่งเกือบจะเอาชีวิตมาทิ้งไว้ ได้กลับมาระลึกถึงเรื่องราวมากหลาย เช่นเดียวกับเชลยศึกฅนอื่นๆ และเช่นเดียวกับเชลยศึกชาวออสเตรเลีย ที่ลงทุนลงแรงทั้งกายและใจ ย้อนกลับมาค้นหาสถานที่ บุกเบิกป่าดงอันรกร้าง และเสนอให้รัฐบาลออสเตรเลียเจรจากับรัฐบาลไทย ก่อตั้งอนุสรณ์สถานขึ้นที่ ‘ช่องเขาขาด’ จังหวัดกาญจนบุรี สถานที่ซึ่งเชื่อว่าดวงวิญญาณของเชลยศึกพำนักอยู่นับหมื่น

ทุกฅนต่างก็เชื่อว่า ดวงวิญญาณของลีโอ รอว์ลิ่งส๎ แม้ได้สิ้นชีวิตที่ประเทศอังกฤษ แต่ก็อยู่ ณ ที่นั้น ในวันประกอบพิธีคารวะ และแนะนำหนังสือตามความประสงค์ของเขา ร่วมกับดวงวิญญาณที่เกี่ยวข้องทั้งหลายเมื่อครั้งกระโน้นด้วย

ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ ได้มอบลายเซ็นสวยงาม (ซึ่งปรากฏในหน้าแรกของหนังสือทุกเล่ม) มาก่อนแล้ว นานถึง ๒๓ ปี ผู้อ่านจึงจะได้เห็นลายเซ็นของนักเขียนและศิลปินรวมทั้งลายมือในหนังสือทุกเล่ม

เมื่อครั้งที่หนังสือเรื่องนี้พิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ จอมพลเรือ เอิร์ลเมานท๎แบทเท่น แห่งพม่า (หรือลอร์ดหลุยส๎ เมานท๎แบทเท่น) ได้เขียนคำปรารภเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หนังสือเรื่องนี้ว่า

“ข้าพเจ้าไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น รูปถ่ายหรือภาพยนตร์ที่แสดงถึงชีวิตอันทุกขเวทนาของเชลยศึกผู้เคราะห์ร้าย ยามตกอยู่ในเงื้อมมือทหารญี่ปุ่นในสงคราม

นับว่ายังดีที่เชลยศึกฅนหนึ่ง คือ ลีโอ รอว์ลิ่งส๎ มีความกล้าหาญและมุ่งมั่น อดทน ทั้งสามารถ ได้ถ่ายทอดให้เห็นชีวิตอันน่าตระหนกของบรรดาเชลยศึกของเรา

เขาเขียนเล่าเรื่องราวของเขาไว้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องที่ทุกฅน ผู้ซึ่งชื่นชมความทรหดอันมหัศจรรย์ของบรรดาฅนของเรา ขณะตกเป็นเชลยในเงื้อมมือทหารญี่ปุ่น จะต้องสะเทือนใจ”

ถ้อยความตรงไปตรงมาของเชลยศึกสงคราม และภาพวาดในภาวะคับขัน เสี่ยงตาย สวยงาม มีชีวิต มีวิญญาณ มีความเจ็บปวด ขมขื่น ความตาย ฯลฯ

คือสิ่งที่ไม่อาจหาได้จากหนังสือเล่มใด ไม่ว่านับร้อยๆปีที่ผ่านมา และอีกร้อยๆปีข้างหน้า

ที่สำคัญก็คือ เกือบทั้งหมด และส่วนสำคัญของหนังสือ เกิดขึ้นในประเทศสยามหรือประเทศไทย

นี่คือหนังสือเล่มหนึ่ง ที่มนุษย์ทุกฅนควรอ่าน ควรเรียนรู้ โดยเฉพาะฅนไทยยุคนี้ และยุคหน้า

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ LI5900299

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]