Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

เพ่งพินิจเรื่องชีวิต / ระวี ภาวิไล

By: ระวี ภาวิไลMaterial type: TextTextPublication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2547. Description: 256 หน้าISBN: 9741402627Subject(s): ชีวิต | พุทธภาษิต | การปฏิบัติธรรมDDC classification: 294.315 Summary: เนื่องจากโลกปัจจุบันโดยทั่วไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความนึกคิด หรือโลกทัศน์ชีวทัศน์แบบวัตถุนิยม ผู้เขียนจึงเห็นความจำเป็นที่ต้องเน้นแนวความนึกคิดที่ให้น้ำหนักเท่าเทียมกันแก่องค์ประกอบสองด้าน หรือสองประเภทของชีวิต กล่าวคือด้านจิตใจหรือนามธรรม และด้านกายหรือรูปธรรม แนวคิดวัตถุนิยมนั้นถือว่ารูปธรรมหรือวัตถุเท่านั้นทีมีอยู่จริง ส่วนความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจเป็นเพียงผลของปฏิกิริยาระหว่างสารวัตถุ เช่น ความรับรู้ทางตาก็เป็นเพียงกระแสประสาท หรือถ่ายทอดประจุไฟฟ้าจากปลายประสาทตาไปสู่สมอง ในแนวคิดแบบนี้ชีวิตจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ของวัตถุ การให้น้ำหนักของจิตใจเท่าเทียมกับรูปกายหรือวัตถุ ก็โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุนั้นจะมีอยู่ก็โดยเมื่อมีการรับรู้เท่านั้น วัตถุที่กล่าวว่ามีอยู่โดยไม่มีผู้ใดรับรู้เลย นันไม่ได้ว่ามีอยู่ ข้อนี้เป็นข้อแย้งของนักปราชญ์ฝ่ายค้านวัตถุนิยม ซึ่งก็ไม่ใช่แนวคิดของผู้เขียน ผู้เขียนมีความเห็นว่า ชีวิตเป็นสิ่งดีงามและมีคุณค่า ความเข้าใจที่ว่า พุทธธรรมมองโลกในแง่ร้ายเพราะเน้นเรื่องความทุกข์ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด พระพุทธเจ้าทรงชี้นำให้บุคคลขจัดความทุกข์ในชีวิตด้วยความรู้จริง เพื่อเข้าสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ การตรัสรู้ของพระพุทธองค์เป็นสิ่งยืนยันว่า มนุษย์ทุกฅนสามารถทำเช่นนั้นได้ โดยพัฒนาชีวิตจิตใจของตน สิ่งที่เป็นเงื่อนไขนำความสุขมาให้นั้น คือวัตถุ ซึ่งต่างต้องขวนขวายแสวงหามา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน บ้านช่อง ที่ดิน รถยนต์ แม้แต่บุคคลที่ตนรักใคร่ปรารถนาก็ตาม แนวความคิดแบบนี้นำชีวิตตนให้ตกอยู่ในภายใต้อำนาจของวัตถุ เพราะความสุขขึ้นอยู่กับวัตถุ ซึ่งอาจได้มาโดยการงาน ขอร้อง หยิบฉวย แก่งแย่ง ฯลฯ ทั้งโดยวิธีการที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง สุดแต่พื้นฐานทางจิตใจของแต่ละบุคคล ผู้คุ้นเคยต่อการฝึกฝนควบคุมจิตใจ จะรู้ว่าความสุขอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ภายใต้อำนาจวัตถุ เพราะเมื่อใดจิตใจของฅนเราพัฒนาด้วยการฝึกอบรมจนมีความแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่านถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้นั้นก็ได้ลิ้มรสความสุขที่เกิดจากการที่ทั้งกายและใจสงบระงับ ความสุขประเภทนี้ไม่อยู่ภายใต้วัตถุ ซื้อหาแย่งชิงกันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละฅนที่จะฝึกฝนอบรมตัวเอง ในโลกปัจจุบันซึ่งผู้ฅนจำนวนมากต่างแข่งขันแย่งชิง ครอบครองวัตถุ เพราะเข้าใจผิดว่าแหล่งบันดาลความสุขชนิดเดียวนั้น การรู้แหล่งความสุขที่ละเอียดอ่อนประณีตกว่า ควรจะช่วยลดพฤติกรรมอันก่อความทุกข์ร้อนในสังคมที่เกิดเพราะการแก่งแย่งทางวัตถุ และมีจิตใจเป็นทาสของวัตถุได้ตามสมควร ในการจัดพิมพ์ได้ให้ชื่อหนังสือว่า 'เพ่งพินิจเรื่องชีวิต' ผู้สนใจจะเลือกอ่านตอนใดเวลาใดก็ได้ ระวี ภาวิไล ๙ เมษายน ๒๕๒๗
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Home library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode Item holds
Juvenile Book Juvenile Book The Foundation of Mrigadayavan Palace
Philosophy and Psychology 294.315 ร117พ 2547 ฉ.1 (Browse shelf(Opens below)) ฉ.1 Available MRIG18012992
General Book General Book The Foundation of Mrigadayavan Palace
294.315 ร117พ 2547 ฉ.2 (Browse shelf(Opens below)) ฉ.2 Available MRIG21080642
Total holds: 0

เนื่องจากโลกปัจจุบันโดยทั่วไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความนึกคิด หรือโลกทัศน์ชีวทัศน์แบบวัตถุนิยม ผู้เขียนจึงเห็นความจำเป็นที่ต้องเน้นแนวความนึกคิดที่ให้น้ำหนักเท่าเทียมกันแก่องค์ประกอบสองด้าน หรือสองประเภทของชีวิต กล่าวคือด้านจิตใจหรือนามธรรม และด้านกายหรือรูปธรรม แนวคิดวัตถุนิยมนั้นถือว่ารูปธรรมหรือวัตถุเท่านั้นทีมีอยู่จริง ส่วนความรู้สึกนึกคิดหรือจิตใจเป็นเพียงผลของปฏิกิริยาระหว่างสารวัตถุ เช่น ความรับรู้ทางตาก็เป็นเพียงกระแสประสาท หรือถ่ายทอดประจุไฟฟ้าจากปลายประสาทตาไปสู่สมอง

ในแนวคิดแบบนี้ชีวิตจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ของวัตถุ การให้น้ำหนักของจิตใจเท่าเทียมกับรูปกายหรือวัตถุ ก็โดยชี้ให้เห็นว่าวัตถุนั้นจะมีอยู่ก็โดยเมื่อมีการรับรู้เท่านั้น วัตถุที่กล่าวว่ามีอยู่โดยไม่มีผู้ใดรับรู้เลย นันไม่ได้ว่ามีอยู่ ข้อนี้เป็นข้อแย้งของนักปราชญ์ฝ่ายค้านวัตถุนิยม ซึ่งก็ไม่ใช่แนวคิดของผู้เขียน

ผู้เขียนมีความเห็นว่า ชีวิตเป็นสิ่งดีงามและมีคุณค่า ความเข้าใจที่ว่า พุทธธรรมมองโลกในแง่ร้ายเพราะเน้นเรื่องความทุกข์ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด พระพุทธเจ้าทรงชี้นำให้บุคคลขจัดความทุกข์ในชีวิตด้วยความรู้จริง เพื่อเข้าสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ การตรัสรู้ของพระพุทธองค์เป็นสิ่งยืนยันว่า มนุษย์ทุกฅนสามารถทำเช่นนั้นได้ โดยพัฒนาชีวิตจิตใจของตน

สิ่งที่เป็นเงื่อนไขนำความสุขมาให้นั้น คือวัตถุ ซึ่งต่างต้องขวนขวายแสวงหามา ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน บ้านช่อง ที่ดิน รถยนต์ แม้แต่บุคคลที่ตนรักใคร่ปรารถนาก็ตาม แนวความคิดแบบนี้นำชีวิตตนให้ตกอยู่ในภายใต้อำนาจของวัตถุ เพราะความสุขขึ้นอยู่กับวัตถุ ซึ่งอาจได้มาโดยการงาน ขอร้อง หยิบฉวย แก่งแย่ง ฯลฯ ทั้งโดยวิธีการที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง สุดแต่พื้นฐานทางจิตใจของแต่ละบุคคล

ผู้คุ้นเคยต่อการฝึกฝนควบคุมจิตใจ จะรู้ว่าความสุขอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ภายใต้อำนาจวัตถุ เพราะเมื่อใดจิตใจของฅนเราพัฒนาด้วยการฝึกอบรมจนมีความแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่านถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้นั้นก็ได้ลิ้มรสความสุขที่เกิดจากการที่ทั้งกายและใจสงบระงับ ความสุขประเภทนี้ไม่อยู่ภายใต้วัตถุ ซื้อหาแย่งชิงกันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละฅนที่จะฝึกฝนอบรมตัวเอง

ในโลกปัจจุบันซึ่งผู้ฅนจำนวนมากต่างแข่งขันแย่งชิง ครอบครองวัตถุ เพราะเข้าใจผิดว่าแหล่งบันดาลความสุขชนิดเดียวนั้น การรู้แหล่งความสุขที่ละเอียดอ่อนประณีตกว่า ควรจะช่วยลดพฤติกรรมอันก่อความทุกข์ร้อนในสังคมที่เกิดเพราะการแก่งแย่งทางวัตถุ และมีจิตใจเป็นทาสของวัตถุได้ตามสมควร

ในการจัดพิมพ์ได้ให้ชื่อหนังสือว่า 'เพ่งพินิจเรื่องชีวิต' ผู้สนใจจะเลือกอ่านตอนใดเวลาใดก็ได้

ระวี ภาวิไล
๙ เมษายน ๒๕๒๗

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ LI5900258

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]