Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

เสน่ห์ตะวันออก = La tentation de l'occident / เขียนโดย อ็องเดร มาลโรซ์ ; แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ; มกุฏ อรฤดี, บรรณาธิการ

By: มาลโรซ์, อ็องเดร์, ค.ศ. 1901-1976Contributor(s): ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาMaterial type: TextTextLanguage: Thai Original language: French Publication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้อ, 2540. Edition: พิมพ์ครั้งที่ 1Description: 280 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซมISBN: 9747296969Subject(s): วรรณกรรมฝรั่งเศส -- การแปลเป็นภาษาไทย | จีน -- อารยธรรม | ยุโรป -- อารยธรรมDDC classification: ร.ส. Summary: เนื่องในวาระครบรอบ ๒๐ ปีแห่งการจากไปของ อ็องเดร๎ มาลโรซ์ นักประพันธ์และนักการเมืองฅนสำคัญของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส จัดงานรำลึกและยกย่องบุคคลผู้นี้ไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น สำนักวัฒนธรรมแห่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ได้จัดบรรยายเกี่ยวกับชีวิตและผลงาน ณ มหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้สำนักพิมพ์ผีเสื้อ จัดพิมพ์ผลงานการประพันธ์สำคัญๆ เป็นภาษาไทย ประกอบด้วยหนังสือจำนวนทั้งหมด ๓ เล่ม ได้แก่ ความเรียงรูปจดหมาย ชื่อ เสน่ห์ตะวันออก (LA TENTATION DE L'OCCIDENT พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๒๖) เล่มที่สองคือ ราชมรรคา (LA VOIE ROYALE พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๓๐) เล่มสุดท้ายคือ มนุษยภาวะ (LA CONDITION HUMAINE พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๓๓) สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้จัดพิมพ์แล้ว ๒ เล่มคือ 'เสน่ห์ตะวันออก' และ 'ราชมรรคา' แม้จะเป็นความเรียงและไม่ได้มีรางวัลอะไรห้อยท้ายก็ตาม เป็นหนังสือที่มีเสน่ห์สมชื่อ เป็นงานที่สะท้อนตัวตน ความคิด ทัศนะของผู้เขียนชัดเจน ด้วยการใช้ภาษาสวยงามแฝงนัยความหมายต่างๆ ไว้ระหว่างบรรทัดมากมาย เสน่ห์ตะวันออกเป็นความเรียงรูปจดหมายที่ฅนสองฅนจากโลกตะวันตก (ฝรั่งเศส) และโลกตะวันออก (จีน) เขียนติดต่อกัน บอกเล่าความคิดอันลึกซึ้งครอบคลุมความคิดทั้งแบบตะวันตกและตะวันออก ซึ่งผู้เขียนได้ประสบการณ์ส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางเข้ามาผจญภัยที่กัมพูชา ความคิดเห็นที่สองฅนตอบโต้กัน เป็นความคิดเห็นของตัวละครที่มีการศึกษา รอบรู้ การเอ่ยถึงชื่อเฉพาะสถานที่ต่างๆ มีนัยยะพาดพิงถึงศาสนา ปรัชญา เทพปกรณัม อันเป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาและช่วยสร้างอรรถรสในการอ่านอย่างยอดเยี่ยม ด้วยการใช้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้ชื่อว่าไพเราะที่สุดอยู่แล้วได้งดงาม
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)

ที่ระลึกในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการจากไปของ อ๊องเดร์ มาลโรซ์

เนื่องในวาระครบรอบ ๒๐ ปีแห่งการจากไปของ อ็องเดร๎ มาลโรซ์ นักประพันธ์และนักการเมืองฅนสำคัญของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส จัดงานรำลึกและยกย่องบุคคลผู้นี้ไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น สำนักวัฒนธรรมแห่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ได้จัดบรรยายเกี่ยวกับชีวิตและผลงาน ณ มหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่ง พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้สำนักพิมพ์ผีเสื้อ จัดพิมพ์ผลงานการประพันธ์สำคัญๆ เป็นภาษาไทย ประกอบด้วยหนังสือจำนวนทั้งหมด ๓ เล่ม ได้แก่ ความเรียงรูปจดหมาย ชื่อ เสน่ห์ตะวันออก (LA TENTATION DE L'OCCIDENT พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๒๖) เล่มที่สองคือ ราชมรรคา (LA VOIE ROYALE พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๓๐) เล่มสุดท้ายคือ มนุษยภาวะ (LA CONDITION HUMAINE พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. ๑๙๓๓) สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้จัดพิมพ์แล้ว ๒ เล่มคือ 'เสน่ห์ตะวันออก' และ 'ราชมรรคา'

แม้จะเป็นความเรียงและไม่ได้มีรางวัลอะไรห้อยท้ายก็ตาม เป็นหนังสือที่มีเสน่ห์สมชื่อ เป็นงานที่สะท้อนตัวตน ความคิด ทัศนะของผู้เขียนชัดเจน ด้วยการใช้ภาษาสวยงามแฝงนัยความหมายต่างๆ ไว้ระหว่างบรรทัดมากมาย

เสน่ห์ตะวันออกเป็นความเรียงรูปจดหมายที่ฅนสองฅนจากโลกตะวันตก (ฝรั่งเศส) และโลกตะวันออก (จีน) เขียนติดต่อกัน บอกเล่าความคิดอันลึกซึ้งครอบคลุมความคิดทั้งแบบตะวันตกและตะวันออก ซึ่งผู้เขียนได้ประสบการณ์ส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางเข้ามาผจญภัยที่กัมพูชา ความคิดเห็นที่สองฅนตอบโต้กัน เป็นความคิดเห็นของตัวละครที่มีการศึกษา รอบรู้ การเอ่ยถึงชื่อเฉพาะสถานที่ต่างๆ มีนัยยะพาดพิงถึงศาสนา ปรัชญา เทพปกรณัม อันเป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาและช่วยสร้างอรรถรสในการอ่านอย่างยอดเยี่ยม ด้วยการใช้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้ชื่อว่าไพเราะที่สุดอยู่แล้วได้งดงาม

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ LI5900298

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]