Local cover image
Local cover image
Amazon cover image
Image from Amazon.com

ตำรับอาหารพระราชวังหลวงพระบาง / เพียสิง จะเลินสิน ; จินดา จำเริญ, แปลจากภาษาลาว

By: เพียสิง จะเลินสินContributor(s): จินดา จำเริญMaterial type: TextTextPublication details: กรุงเทพฯ : ผีเสื้อลาว, 2553. Edition: พิมพ์ครั้งที่ 1 (ปกแข็ง)Description: 400 หน้า : ภาพประกอบ ; 23 ซมISBN: 9789741403899Subject(s): การปรุงอาหาร -- ลาว | อาหาร -- ลาว | บริโภคนิสัย -- ลาวDDC classification: 641.509594
Partial contents:
เพียสิงและตำรับอาหารลายมือของท่าน -- อุปนิสัยการบริโภคของฅนลาวและความเห็นเกี่ยวกับอาหาร -- ศัพท์ที่ใช้ในการทำครัว และเครื่องครัวของลาว -- เครื่องปรุง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบอาหาร -- ข้าวและอาหารจำพวกแป้ง -- น้ำปลาและปาแดก -- เครื่องปรุงที่รสเป็นกรดหรือมีรสเปรี้ยวบางชนิด -- ผลไม้อื่นๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร -- ดอกไม้ที่บริโภคได้ -- ผักสลัด ผักวงศ์กะหล่ำ และใบไม้ที่บริโภคได้ -- พืชวงศ์หอม -- ถั่ว -- ผักนานาชนิด -- เห็ดและเห็ดราที่บริโภคได้ -- สมุนไพร -- น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรส -- การชั่ง ตวง ของลาว -- ตำรับอาหารลาวของเพียสิง -- ของหวานลาว
Summary: หนังสือนี้เป็นประจักษ์พยานแห่งความพยายามโดยแท้ เริ่มแต่ เพียสิง ข้าราชบริพารราชสำนักหลวงพระบาง ได้บันทึกตำรับอาหารในพระราชวังของลาว ด้วยมุ่งหวังจะให้เป็นบันทึกแห่งชาติลาวด้านวัฒนธรรมการกิน และประสงค์จะได้พิมพ์เผยแพร่เพื่อนำเงินรายได้จากการนี้ไปบูรณะบุษบกพระบาง ครั้นเมื่อใกล้ถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพียสิงจึงมอบหมายให้ภริยานำสมุดบันทึกต้นฉบับลายมือตำรับอาหารขึ้นทูลเกล้าฯถวายมกุฎราชกุมาร ด้วยหวังว่าจะทรงช่วยให้ความปรารถนาในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตที่มีต่อพระราชอาณาจักรลาวแห่งหลวงพระบางสัมฤทธิ์ผล จวบจนกระทั่ง อแลน เดวิดสัน ได้รับต้นฉบับดังกล่าวนั้นมา และเพียรพยายามร่วมกับชาวลาวอพยพช่วยกันแปลและเขียนรูปประกอบ จนจัดพิมพ์เป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่ง พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.๑๙๘๑ ในปี ๑๙๘๖ สำนักพิมพ์กะรัต (หรือผีเสื้อในปัจจุบัน) ได้หารือกับอแลน เดวิดสัน เพื่อแปลและพิมพ์หนังสือนี้เป็นภาษาไทย บัดนี้ได้เวลา แต่ก็นับวันย้อนไปถึง ๒๔ ปี เพียสิงถึงแก่อนิจกรรมแล้ว อแลน เดวิดสัน ก็จากไปแล้ว---ลายมือของเพียสิงยังอยู่ ผลงานหนังสืออย่างมีรสนิยมจากความพยายามของอแลน เดวิดสัน ยังคงอยู่ และส่งต่อมรดกมาถึงสำนักพิมพ์ผีเสื้อให้พิมพ์หนังสือเล่มสำคัญในฐานะมรดกของโลกอีกเล่มหนึ่ง สำนักพิมพ์ผีเสื้อประกาศแขนงภาษาลาวในนามผีเสื้อลาว หรือออกเสียงสำเนียงลาวว่า ‘แมงกะเบื้อ’ นับจากหนังสือเล่มนี้ ด้วยหมายจะเสาะหาหนังสือมีค่าเล่มอื่นๆ จากภาษาลาวเพื่อแปลเป็นภาษาไทยในวาระอันควร หนังสือเล่มนี้มีค่ามิใช่เพียงในฐานะตำรับอาหาร แต่ยังในฐานะวัตถุบันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของชาติลาว ซึ่งมิได้มีบรรยายไว้ ณ ที่แห่งใด สิ่งนั้นคือ ความเรียบง่ายอย่างสามัญของตำรับอาหารในพระราชวังหลวงพระบาง จนกล่าวกันว่า ฅนลาวกินอย่างไรเจ้าก็กินอย่างนั้น เจ้าลาวในพระราชวังก็เสวยเช่นเดียวกับฅนลาวทั่วไป หนังสือเล่มนี้จึงเป็นบันทึกแทนชาวลาวทุกระดับชั้น และเป็นบันทึกอันอมตะไม่เปลี่ยนแปลง แม้การปกครอง การเมือง จะกลายไปเป็นอื่นจากเดิม การแปลและพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ส่วนสำคัญคือตำรับอาหารลาว ผู้แปลภาคภาษาลาวถ่ายทอดการออกเสียงและสะกด ตลอดจนรูปประโยคจากลายมือของเพียสิงให้ใกล้เคียงภาษาลาวที่สุด และจากการศึกษา สอบถาม ได้ความรู้ว่าสำเนียงและคำศัพท์หลวงพระบางหลายต่อหลายคำเหมือนภาษาทางใต้ของไทย ตั้งแต่นครศรีธรรมราชถึงสงขลา สิ่งนี้จึงน่าสนใจค้นคว้าต่อไป อย่างไรก็ตาม บทความนำเรื่องในเล่มก็ทำให้ตำรับอาหารลาวของเพียสิง สมบูรณ์แบบที่สุด ความสามารถอันยอดเยี่ยมในเชิงค้นคว้าด้านศิลปวัฒนธรรมการกินของอแลน เดวิดสัน นับว่าเป็นเลิศ หนังสือนี้ฉบับภาษาอังกฤษจึงได้รับยกย่องสืบมาจนปัจจุบัน สำนักพิมพ์แมงกะเบื้อขอขอบคุณอาจารย์พอนสวัน พิลาวัน แห่งมะหาวิทะยาไลสุพานุวง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้ช่วยเหลือ ถ่ายเสียงภาษาลาว อีกทั้งอธิบายข้อสงสัยอันเกี่ยวกับตำรับอาหารลาวแห่งหลวงพระบางจนกระจ่าง หนังสือนี้เป็นประจักษ์พยานแห่งความพยายามและมุ่งมาดปรารถนา จะทำหนังสือดีของสำนักพิมพ์ในตระกูลผีเสื้อโดยแท้ สำนักพิมพ์แมงกะเบื้อ (ผีเสื้อลาว) สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓
List(s) this item appears in: รายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Home library Collection Call number Status Date due Barcode Item holds
General Book General Book The Foundation of Mrigadayavan Palace
Technology (Applied Sciences) 641.509594 พ952ต 2553 (Browse shelf(Opens below)) Available MRIG18013061
Total holds: 0

เพียสิงและตำรับอาหารลายมือของท่าน -- อุปนิสัยการบริโภคของฅนลาวและความเห็นเกี่ยวกับอาหาร -- ศัพท์ที่ใช้ในการทำครัว และเครื่องครัวของลาว -- เครื่องปรุง และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบอาหาร -- ข้าวและอาหารจำพวกแป้ง -- น้ำปลาและปาแดก -- เครื่องปรุงที่รสเป็นกรดหรือมีรสเปรี้ยวบางชนิด -- ผลไม้อื่นๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร -- ดอกไม้ที่บริโภคได้ -- ผักสลัด ผักวงศ์กะหล่ำ และใบไม้ที่บริโภคได้ -- พืชวงศ์หอม -- ถั่ว -- ผักนานาชนิด -- เห็ดและเห็ดราที่บริโภคได้ -- สมุนไพร -- น้ำจิ้มและเครื่องปรุงรส -- การชั่ง ตวง ของลาว -- ตำรับอาหารลาวของเพียสิง -- ของหวานลาว

หนังสือนี้เป็นประจักษ์พยานแห่งความพยายามโดยแท้ เริ่มแต่ เพียสิง ข้าราชบริพารราชสำนักหลวงพระบาง ได้บันทึกตำรับอาหารในพระราชวังของลาว ด้วยมุ่งหวังจะให้เป็นบันทึกแห่งชาติลาวด้านวัฒนธรรมการกิน และประสงค์จะได้พิมพ์เผยแพร่เพื่อนำเงินรายได้จากการนี้ไปบูรณะบุษบกพระบาง ครั้นเมื่อใกล้ถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพียสิงจึงมอบหมายให้ภริยานำสมุดบันทึกต้นฉบับลายมือตำรับอาหารขึ้นทูลเกล้าฯถวายมกุฎราชกุมาร ด้วยหวังว่าจะทรงช่วยให้ความปรารถนาในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตที่มีต่อพระราชอาณาจักรลาวแห่งหลวงพระบางสัมฤทธิ์ผล จวบจนกระทั่ง อแลน เดวิดสัน ได้รับต้นฉบับดังกล่าวนั้นมา และเพียรพยายามร่วมกับชาวลาวอพยพช่วยกันแปลและเขียนรูปประกอบ จนจัดพิมพ์เป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่ง พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.๑๙๘๑

ในปี ๑๙๘๖ สำนักพิมพ์กะรัต (หรือผีเสื้อในปัจจุบัน) ได้หารือกับอแลน เดวิดสัน เพื่อแปลและพิมพ์หนังสือนี้เป็นภาษาไทย

บัดนี้ได้เวลา แต่ก็นับวันย้อนไปถึง ๒๔ ปี

เพียสิงถึงแก่อนิจกรรมแล้ว อแลน เดวิดสัน ก็จากไปแล้ว---ลายมือของเพียสิงยังอยู่ ผลงานหนังสืออย่างมีรสนิยมจากความพยายามของอแลน เดวิดสัน ยังคงอยู่ และส่งต่อมรดกมาถึงสำนักพิมพ์ผีเสื้อให้พิมพ์หนังสือเล่มสำคัญในฐานะมรดกของโลกอีกเล่มหนึ่ง

สำนักพิมพ์ผีเสื้อประกาศแขนงภาษาลาวในนามผีเสื้อลาว หรือออกเสียงสำเนียงลาวว่า ‘แมงกะเบื้อ’ นับจากหนังสือเล่มนี้ ด้วยหมายจะเสาะหาหนังสือมีค่าเล่มอื่นๆ จากภาษาลาวเพื่อแปลเป็นภาษาไทยในวาระอันควร

หนังสือเล่มนี้มีค่ามิใช่เพียงในฐานะตำรับอาหาร แต่ยังในฐานะวัตถุบันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของชาติลาว ซึ่งมิได้มีบรรยายไว้ ณ ที่แห่งใด สิ่งนั้นคือ ความเรียบง่ายอย่างสามัญของตำรับอาหารในพระราชวังหลวงพระบาง จนกล่าวกันว่า ฅนลาวกินอย่างไรเจ้าก็กินอย่างนั้น เจ้าลาวในพระราชวังก็เสวยเช่นเดียวกับฅนลาวทั่วไป หนังสือเล่มนี้จึงเป็นบันทึกแทนชาวลาวทุกระดับชั้น และเป็นบันทึกอันอมตะไม่เปลี่ยนแปลง แม้การปกครอง การเมือง จะกลายไปเป็นอื่นจากเดิม

การแปลและพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ส่วนสำคัญคือตำรับอาหารลาว ผู้แปลภาคภาษาลาวถ่ายทอดการออกเสียงและสะกด ตลอดจนรูปประโยคจากลายมือของเพียสิงให้ใกล้เคียงภาษาลาวที่สุด และจากการศึกษา สอบถาม ได้ความรู้ว่าสำเนียงและคำศัพท์หลวงพระบางหลายต่อหลายคำเหมือนภาษาทางใต้ของไทย ตั้งแต่นครศรีธรรมราชถึงสงขลา สิ่งนี้จึงน่าสนใจค้นคว้าต่อไป

อย่างไรก็ตาม บทความนำเรื่องในเล่มก็ทำให้ตำรับอาหารลาวของเพียสิง สมบูรณ์แบบที่สุด ความสามารถอันยอดเยี่ยมในเชิงค้นคว้าด้านศิลปวัฒนธรรมการกินของอแลน เดวิดสัน นับว่าเป็นเลิศ หนังสือนี้ฉบับภาษาอังกฤษจึงได้รับยกย่องสืบมาจนปัจจุบัน

สำนักพิมพ์แมงกะเบื้อขอขอบคุณอาจารย์พอนสวัน พิลาวัน แห่งมะหาวิทะยาไลสุพานุวง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้ช่วยเหลือ ถ่ายเสียงภาษาลาว อีกทั้งอธิบายข้อสงสัยอันเกี่ยวกับตำรับอาหารลาวแห่งหลวงพระบางจนกระจ่าง

หนังสือนี้เป็นประจักษ์พยานแห่งความพยายามและมุ่งมาดปรารถนา จะทำหนังสือดีของสำนักพิมพ์ในตระกูลผีเสื้อโดยแท้

สำนักพิมพ์แมงกะเบื้อ
(ผีเสื้อลาว)
สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ อภินันทนาการ LI5900289

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer

Local cover image
Share this title:
ห้องสมุดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ฯ
๑๒๘๑ (ค่ายพระรามหก) ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๓๒.๕๐๘.๔๔๔-๕, ๐๘๑.๙๔๑.๒๑๘๕ โทรสาร ๐๓๒.๕๐๘.๐๓๙ (ปิดทำการวันพุธ)
อีเมล [email protected], [email protected]